Polygene


จากภาพด้านบน  จีนที่ควบคุมสีของข้าวสาลีสีแดงเข้ม  เป็นจีน 3 คู่  คุม  1  ลักษณะ  คือ R1R2R3  และจีนที่ควบคุมสีของข้าวสาลีขาว  เป็นจีน 3 คู่  คุม  1  ลักษณะ  คือ r1r2r3    ดังนั้น  พอลีจีนจึงหมายถึง  จีนที่ควบคุม  ลักษณะมีมากกว่า  1  คู่ซึ่งจะได้  ลักษณะของ F1  และ F2  ตามภาพด้านบน นอกจากนี้ยังพบว่า  พอลีจีนในลักษณะสีตาของคน   (การสร้างสารสีเมลานีน)   ถ้าจีโนไทป์มีจีนเด่นหลายจีน  ปริมาณของเมลานีนก็จะมีมากทำให้ม่านตามีสีต่างๆ   ตั้งแต่สีน้ำตาลเข้ม จนถึงสีน้ำตาลอ่อน    ถ้าจีโนไทป์มีเฉพาะจีนด้อย  ก็จะไม่มีการสร้างสารเมลานีน  และมีตาสีฟ้า
นอกจากนี้ยังสังเกตได้ว่า  สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน    แม้แต่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันก็มีความแตกต่างกันแต่น้อยกว่าสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน   ความแตกต่างกันนี้เรียกว่า  ความแปรผันทางพันธุกรรม( genetic  variation ) ซึ่งควบคุมด้วยจีน 1 คู่ (single gene) และหลายคู่ (polygene) ลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมด้วยจีนหลายคู่  เรียกว่า   พอลีจีนิค  เทรต (polygenic  trait)   เช่นลักษณะสีของเมล็ดข้าวสาลี  ลักษณะความสูง   สีผิวของคน  การให้น้ำนมของวัว  และขนาดของผลไม้  เป็นต้น   เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า  ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีการแปรผันต่อเนื่อง  (continuous  variation  trait)  สามารถวัดเชิงปริมาณได้  จึงเรียกอีกอย่างว่า  ลักษณะเชิงปริมาณ  (quantitative  trait)  ซึ่งสิ่งแวดล้อมมีผลต่อจีนที่ควบคุม  เช่น  แสงแดดมีผลต่อสีผิว  อาหารมีผลต่อความสูง  ทำให้จีนเปลี่ยนแปลงได้

ส่วนลักษณะที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน  เช่น  หนังตาชั้นเดียว/สองชั้น    หูมีติ่ง/ไม่มีติ่ง    มีลักยิ้ม/ไม่มีลักยิ้ม    มีเชิงผม/ไม่มีเชิงผม    ห่อลิ้นได้/ห่อลิ้นไม่ได้    หัวแม่มือตรง/หัวแม่มืองอโค้ง    มีเชิงผม/ไม่มีเชิงผม  ขวัญเวียนขวา/ขวัญเวียนซ้าย   เป็นลักษณะที่ควบคุมด้วยจีนคู่เดียว  เรียกว่า  ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีการแปรผันไม่ต่อเนื่อง (discontinuous  variation  trait)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น