พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ
ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง (Generation) เช่น
รุ่นพ่อแม่ถ่ายทอดลักษณะต่างๆลงไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน
โดยมีการเริ่มต้นการศึกษาเรื่องพันธุกรรม (Heredity)โดย
เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) เป็นผู้ที่ค้นพบและอธิบายหลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
(Heredity) ในช่วงกลางของทศวรรษที่ 18
พันธุกรรม (Heredity)เป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีลักษณะต่างๆแตกต่างกันไปมากมาย
โดยมีหน่วยควบคุมที่เรียกว่า ยีน (Gene) ซึ่งยีน (Gene)
แต่ละยีน (Gene) ก็จะมีหน้าที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม
(Heredity) ลักษณะหนึ่งๆไป มีทั้งยีน (Gene) ที่ควบคุมลักษณะเด่น และยีน (Gene) ที่ควบคุมลักษณะด้อย
แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ลักษณะเราแตกต่างออกไปคือสภาพแวดล้อม เช่น ความอ้วน
อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม (Heredity)
ทราบไหมว่า….???
การผสมกลับ
หรือแบคครอส(backcross) เป็นการผสมพันธุ์
โดยนำลูกผสมไปผสมกับพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์
การผสมกลับมีประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์พืชหรือสัตว์เพื่อให้ได้ลูกผสมมีลักษณะดีตามที่ต้องการ
การเขียนจีโนไทป์ของยีนที่เป็นลักษณะทางพันธุกรรม
ที่เป็นสัดส่วนขยายของพันธุศาสตร์
เมนเดลจะนิยมเขียนสัญลักษณ์ของยีนโดยมีอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่เอนที่มีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายปรากฏอยู่ข้างบนเช่น
RR ดอกสีแดง R’R’ ดอกสีขาว RR’ดอกสีชมพู
หรือมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายปรากฏอยู่ข้างล่าง จะเป็นยีนที่ควบคุมให้เมล็ดข้าวสาลีมีสีขาว
หมู่เลือดในคนมีไม่ต่ำกว่า
14 ระบบ เช่น ABO MN Rh และ Xg
เป็นต้น โดยหมู่เลือดระบบ ABO มียีนควบคุม 3แอลลีล
ยีนบนโครโมโชมเพศก็ยังพบ โรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยจะมีโลหิตจางมาแต่กำเนิด
มีอาการดีซ่าน เริ่มด้วยตับและม้านโต อาจทำให้หัวใจวายได้ ซึ่งเกิดจากยีนด้อยในโครโมโซมคู่ที่16 และยีนด้อย
ในโครโมโซมที่ 11 ถ้าเป็นยีนด้อยในโครโมโซมคู่ที่ 16 ทำให้การสร้างพอลิเพปไทด์สายแอลฟาของฮีโมโกลบินผิดปกติ
แต่ถ้าเกิดจากยีนด้อยในโครโมโซมคู่ที่ 11 จะทำให้สร้างพอลิเพปไทด์
สายบีตาผิดปกติ
ในประเทศไทยมีประชากรที่มียีนของโรคธาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 20-30แต่ไม่แสดงอาการของโรค
เป็นพาหะที่สามารถถ่ายทอดยีนที่ทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมียได้
คนไทยเป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 2 ของประชากร
กลุ่มลิงค์เกจ (linkage group) หมายถึง กลุ่มของยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกันทีมีแนวโน้มจะถ่ายทอดไปพร้อมๆกัน
มากกว่าที่จะถ่ายทอดอย่างอิสระต่อกัน ถ้ายีน
2 โลคัสอยู่ไกลกันมาก ก็จะไม่เป็นลิงค์เกจ
แม้จะอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
การศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของคนใช้วิธีวิเคราะห์พันธุประวัติ
ซึ่งเป็นการนำข้อมูลของลักษณะทางพันธุกรรมของบุคคลต่างๆ
ในครอบครัวเดียวกันหลายๆรุ่นนำมาเขียนแผนผังพันธุประวัติ
แล้วพิจารณาลักษณะดังกล่าวว่ามีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมอย่างไร
แผนผังพันธุประวัติประกอบด้วย สัญลักษณ์ต่างๆแทนตัวบุคคล เพศ และ
ลักษณะทางพันธุกรรม ดังภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น