ลักษณะที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของเพศ

   ลักษณะบางลักษณะที่แสดงออกในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงถูกควบคุมด้วยยีนเด่นในออโทโซม แต่ยีนจะแสดงออกในแต่ละเพศได้ไม่เท่ากันโดยมีฮอร์โมนเพศเป็นตัวควบคุม ตัวอย่างที่พบในคน ได้แก่ ลักษณะศีรษะล้าน เมื่อกำหนดให้ B เป็นยีนควบคุมลักษณะศีรษะล้าน และ b เป็นยีนควบคุมลักษณะศีรษะไม่ล้าน เพศชายและเพศหญิงจะมีจีโนไทป์และฟีโนไทป์ ดังภาพ


 -  ถ้าหญิงศีรษะล้านแต่งงานกับชายศีรษะไม่ล้าน ลูกสาวและลูกชายที่เกิดจากชายหญิงคู่นี้จะมีลักษณะของศีรษะเป็นอย่างไร
               จากภาพ จีโนไทป์ BB และ bb จะแสดงฟีโนไทป์เหมือนกัน ทั้งเพศชายและหญิง คือ BB แสดงลักษณะศีรษะล้านและ bb แสดงลักษณะศีรษะไม่ล้าน ส่วนจีโนไทป์ที่เป็นเฮเทอโรไซกัสคือ Bb จะแสดงฟีโน-ไทป์ต่างกันในแต่ละเพศ คือในเพศชายจะแสดงลักษณะศีรษะล้าน ส่วนในเพศหญิงจะแสดงลักษณะศีรษะไม่ล้าน ยีนควบคุมลักษณะศีรษะล้านจึงเป็นยีนเด่นในเพศชาย แต่จะเป็นยีนด้อยในเพศหญิง แสดงว่าศีรษะล้านเป็นลักษณะเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่แสดงออกได้ทั้งสองเพศ แต่ในเพศชายมีโอกาสแสดงลักษณะศีรษะล้านมากกว่าเพศหญิง การแสดงออกของยีนจะเป็นยีนเด่นหรือยีนด้อยขึ้นอยู่กับเพศหรืออิทธิพลของฮอร์โมนเพศชาย ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนที่แสดงลักษณะเด่นในเพศหนึ่งและแสดงลักษณะด้อยในอีกเพศหนึ่งเรียกว่า ลักษณะพันธุกรรมที่ขึ้นกับอิทธิพลของเพศ(sex influenced trait) อาการศีรษะล้านจะเริ่มแสดงออกเมื่ออายุประมาณ 30 ปี โดยผมกลางศีรษะจะเริ่มร่วงและขยายปริมาณเพิ่มขึ้น ในเพศหญิงอาการศีรษะล้านลักษณะผมบางลงกว่าปกติเท่านั้น ซึ่งจะไม่เหมือนในเพศชาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น