การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

มนุษย์รู้จักการสังเกตสิ่งต่างๆที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้มานานแล้ว แต่ยังไม่มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนจนกระทั่งเกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล Gregor Johann Mendel ) ได้ทดลองผสมพันธุกรรม จึงทำให้นักชีววิทยาเข้าใจกฎเกณฑ์ทางพันธุกรรมมากยิ่งขึ้น
เมมเดล เกิดในปี พ..2365 เป็นชาวออสเตรีย  บิดามารดาเป็นชาวสวน ในวัยเด็กสนใจอยากจะเรียนหนังสือมากจึงได้ไปเรียนที่โบสถ์แห่งหนึ่งในกรุงบรุนน์( Brunn)  ปัจจุบัน คือ เมืองเบรอโน ( Brno) ในสาธารณรัฐเชค ภายหลังได้บวช และในเวลาต่อมาได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเวียนนาทางด้าน ฟิสิกส์คณิตศาสตร์ เคมี และพฤกษศาสตร์ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจึงกลับมาเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ด้วยความรักธรรมชาติ และสนใจศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ เมมเดลจึงได้ดัดแปลงที่ดินด้านหลังโบสถ์ให้เป็นแปลงทดลองด้านพฤกษาสตร์ควบคู่ไปกับงานสอนศาสนาของเขาด้วย
เมนเดลรู้จักเลือกชนิดของพืชมาทำการทดลอง พืชที่เมนเดลใช้ในการทดลองคือถั่วลันเตา (Pisum sativum) ซึ่งมีข้อดีในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์หลายประการ เช่น
1.1 เป็นพืชที่ผสมตัวเอง (self- fertilized) ซึ่งสามารถสร้างพันธุ์แท้ได้ง่าย หรือจะทำการผสมข้ามพันธุ์ (cross-fertilized) เพื่อสร้างลูกผสมก็ทำได้ง่ายโดยวิธีผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination)
1.2 เป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องทำนุบำรุงรักษามากนัก ใช้เวลาปลูกตั้งแต่ปลูก จนถึงเก็บเกี่ยวภายในหนึ่งฤดูปลูก (growing season) หรือประมาณ 3 เดือน เท่านั้น และยังให้เมล็ดในปริมาณที่มากด้วย
1.3 เป็นพืชที่ มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่แตกต่างกันชัดเจนหลายลักษณะ ซึ่งในการทดลองดังกล่าว เมนเดลได้นำมาใช้ 7 ลักษณะด้วยกัน
           1.    เมนเดลรู้จักวางแผนการทดลอง
2.1 เลือกศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตาแต่ละลักษณะก่อน เมื่อเข้าใจหลักการถ่ายทอดลักษณะนั้น ๆ แล้ว เขาจึงได้ศึกษาการถ่ายทอดสองลักษณะไปพร้อม ๆ กัน
2.2 ในการผสมพันธุ์จะใช้พ่อแม่ พันธุ์แท้ (pure line) ในลักษณะที่ตรงกันข้ามกัน มาทำการผสมข้ามพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination )
2.3 ลูกผสมจากข้อ 2.2 เรียกว่าลูกผสมช่วงที่ 1 หรือ F1( first filial generation) นำลูกผสมที่ได้มาปลูกดูลักษณะที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ2.4 ปล่อยให้ลูกผสมช่วงที่ 1 ผสมกันเอง ลูกที่ได้เรียกว่า ลูกผสมช่วงที่ 2 หรือ F2( second filial generation) นำลูกช่วงที่ 2 มาปลูกดูลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ
ลักษณะต่าง ๆ ของถั่วลันเตาที่เมนเดล ใช้ในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
1.ลักษณะของเมล็ด เมล็ดกลม และ เมล็ดย่น (round & wrinkled)
2.สีของเปลือกหุ้มเมล็ด สีเหลือง และ สีเขียว (yellow & green)
3.สีของดอก สีม่วงและ สีขาว (purple & white)
4.ลักษณะของฝัก ฝักอวบ และ ฝักแฟบ (full & constricted)
5.ลักษณะสีของฝัก สีเขียว และ สีเหลือง (green & yellow )
6.ลักษณะตำแหน่งของดอก-ดอกติดอยู่ที่กิ่ง และเป็นกระจุกที่ปลายยอด 
(axial & terminal)
7.ลักษณะความสูงของต้น ต้นสูง และ ต้นเตี้ย (long & short)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น