ยีนบนโครโมโซมเพศ

คนปกติมีโครโมโซม  ทั้งหมด  23  คู่  เป็นโครโมโซมที่ควบคุมลักษณะการเจริญของร่างกายทั่วไป  มี  22  คู่แต่ละคู่เหมือนกัน  และเป็นโครโมโซมที่ควบคุมเพศ  1  คู่  ถ้าเหมือนกัน  คือ XX  เป็นเพศหญิง  และถ้าไม่เหมือนกัน  คือ XY  เป็นเพศชาย   เพราะฉะนั้นเราก็จะพิจารณา  จีนที่อยู่บนโครโมโซม  และโครโมโซม  Y ซึ่งนักวิทยาศาสตร์โทมัส ฮัน มอร์แกน (Thomas Hunt Morgan)  และทีมงาน   ค้นพบเป็นครั้งแรก  โดยการทดสอบแมลงหวี่พบว่า  แมลงหวี่มีโครโมโซม 4 คู่ โดยมีออโตโซม 3 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่ เพศชายเป็น XY  และเพศหญิงเป็น XX
        การทดลองคือนำแมลงหวี่เพศเมีย ตาสีแดงผสมกับเพสผู้ตาสีขาว  ลูกที่ได้  ทุกตัวทั้งสองเพศมีตาสีแดง  นำลูกรุ่น  F1  ผสมกัน  พบว่า  ลูกรุ่น  F2  ได้เพศผู้ 2 ตัว  ตาแดง 1 ตัว  ตาขาว 1 ตัว  และเพศเมีย 2 ตัว ตาแดงทั้ง 2 ตัว  ดังนี้
เพศผู้ตาสีขาว   +  เพศเมียตาสีแดง
ลูก F1    =   ทุกตัวทุกเพศตาสีแดงหมด
ลูก F1  ผสมกัน      เพศผู้ตาสีแดง   +   เพศเมียตาสีแดง
ลูก F2   =    เพศผู้ตาขาว  ,  เพศผู้ตาแดง  ,  เพศเมียตาแดง  ,  เพศเมียตาแดง

จากการผสมดังกล่าว  อธิบายได้ดังนี้
รุ่นพ่อแม่      Xขาว Y          +       XแดงXแดง
Gamete         Xขาว   ,   Y    +       Xแดง     (2×1=2)
F1                Xขาว Xแดง   (ตาแดง)  ,  Xแดง Y    (ตาแดง)
นำลูกรุ่น F1  มาผสมกัน
                     Xแดง Y         +       XขาวXแดง
Gamete      Xแดง   ,   Y    +       Xขาว   ,  Xแดง          (2×2=4)
F2                Xแดง Xขาว  ,  Xแดง Xแดง  ,  Xขาว Y  ,  Xแดง Y       
F2   มีฟีโนไทป์  ดังนี้    Xแดง Xขาว(ตาแดง)   ,  Xแดง Xแดง (ตาแดง)   ,  Xขาว Y (ตาขาว)   ,  XแดงY(ตาแดง)         
แสดงว่า   Xแดง เป็นจีนเด่น  ,Xขาว  เป็นจีนด้อย  และ จีน Y ไม่แสดงลักษณะตาขาวตาแดง
การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยจีนบนโครโมโซมเพศ  เรียกว่า sex-linked gene  ถ้าจีนอยู่บนโครโมโซมเพศ X เรียกว่า  X-linked gene
                ในคนพบจีนควบคุมลักษณะบนโครโมโซมเพศ  มากกว่า  100  ลักษณะ ซึ่งได้แก่  ลักษณะตาบอดสี  ,โรคฮีโมฟีเลีย  และโรคภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD  เป็นต้น
             
  ลักษณะตาบอดสีในคน  พบจีนดังนี้
เพศชาย                                 เพศหญิง                               จีโนไทป์
XC Y                                      XC XC                                    ปกติ
–                                              XC Xc                                   เป็นพาหะ
Xc Y                                       Xc Xc                                     ตาบอดสี
               
     ลักษณะโรคฮีโมฟีเลีย  (hemophilia) ในคน  พบจีนดังนี้
เพศชาย                                 เพศหญิง                               จีโนไทป์
XH Y                                      XH XH                                    ปกติ
–                                              XH Xh                                     เป็นพาหะ
Xh Y                                       Xh Xh                                     ตาบอดสี
            
    ลักษณะโรคภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD     (glucose-6-phosphase dehydrogenase deficiency) ในคน  พบจีนดังนี้
เพศชาย                                 เพศหญิง                               จีโนไทป์
XG Y                                      XG XG                                    ปกติ
–                                              XG Xg                                     เป็นพาหะ
Xg Y                                       Xg Xg                                     ตาบอดสี

ตัวอย่าง  พ่อที่ตาปกติ  ส่วนแม่เป็นตาบอดสี  ลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นตาบอดสีในอัตราส่วนเท่าใด
XC Y     +     Xc Xc
XC  ,  Y     +     Xc    (2×1=2)
XC Xc   ,    Xc Y      ลูกสาวเป็นพาหะ 100%  ส่วนลูกชายเป็นโรคตาบอดสี 100 %

ตัวอย่าง  พ่อที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย    ส่วนแม่เป็นพาหะของโรคฮีโมฟีเลีย    ลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคฮีโมฟีเลีย    ในอัตราส่วนเท่าใด
Xh Y     +     XH Xh
Xh  ,  Y     +     XH  ,  Xh    (2×2=4)
XH Xh   , Xh Xh   ,    XH Y  , Xh 
ลูกสาวเป็นพาหะ 50%  เป็นโรค 50%   ส่วนลูกชายปกติ   50%  เป็นโรค 50%  

ตัวอย่าง  พ่อที่เป็นปกติ    ส่วนแม่เป็นพาหะของโรคภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD     ลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD     ในอัตราส่วนเท่าใด
XG Y     +     Xg Xg
XG  ,  Y     +     Xg       (2×1=2)
XG Xg      , Xg Y     ลูกสาวเป็นพาหะ 100%      ส่วนลูกชายเป็นโรค   100%      
               

 จากการศึกษา โครงสร้างโครโมโซมโดยกระบวนการ  Karyotype   พบโครงสร้างของสัตว์ดังนี้

คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม        เพศผู้  XY   เพศเมีย  XX
นกและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก    เพศผู้  ZZ   เพศเมีย  ZW
ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงสาบ              เพศผู้  XO   เพศเมีย  XX    

ซึ่ง XO มีโครโมโซมเพศเพียงครึ่งเดียวของเพศเมีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น