ลักษณะทางพันธุกรรมการข่มไม่สมบูรณ์

การข่มไม่สมบูรณ์  (incomplete dominance)

   ลิ้นมังกรเป็นพืชที่มีดอกหลายสี บางต้นมีดอกสีแดง บางต้นมีดอกสีขาว หรือสีชมพู จากการนำลิ้นมังกรพันธุ์ดอกสีแดงผสมกับพันธุ์แท้ดอกสีขาว จะได้รุ่นF1 มีดอกสีชมพู เมื่อให้รุ่น F1ผสมกันเอง จะได้รุ่น F2ดังภาพ


จากการศึกษาต่อมาพบว่าสีของดอกลิ้นมังกร ควบคุมด้วย 2 แอลลีน ถ้ากำหนดให้ R กับ \displaystyle R' และจีโนไทป์ RR แสดงลักษณะดอกสีแดง \displaystyle R' \displaystyle R' แสดงลักษณะดอกสีขาว ส่วนจีโนไทป์ R\displaystyle R' จะแสดงลักษณะดอกสีชมพู ดังนั้นการผสมพันธุ์ต้นลิ้นมังกร ในภาพที่ 16-9 จึงแสดงฟีโนไทป์และจีโนไทป์ รุ่นต่างๆจะเป็นดังภาพที่ 2

จะเห็นได้ว่าดอกลิ้นมังกรสีชมพูควบคุมด้วย แอลลีน 2 แอลลีน คือ R และ displaystyle R' โดยที่แอลลีนหนี่งไม่สามารถข่มแอลลีนหนึ่งได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ฟีโนไทป์อยู่ระหว่างฟีโนไทป์ของรุ่นพ่อแม่ที่เป็นฮอมอไซกัสลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์(incomplete dominant) ทำให้รุ่น F2 มีอัตราส่วนของฟีโนไทป์ดอกสีแดง : ดอกสีขาว เท่ากับ 1:2:1
จากภาพที่ 3 ลูกที่เกิดจากพ่อและแม่ที่มีผมหยักศกจะมีลักษณะของเส้นผมแตกต่างกันเป็นกี่แบบ คิดเป็นอัตราส่วนเท่าใด
-    ถ้าพ่อเหยียดตรงและแม่ผมหยิก ลูกที่เกิดมาจะมีลักษณะเส้นผมเป็นอย่างไร
เหตุใดการถ่ายทอดลักษณะเส้นผมในคน จึงเป็นลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์
ลักษณะของลูกที่เกิดจากพ่อและแม่ที่มีผมหยักศกจะมีฟีโนไทป์ได้ 3 ลักษณะ คือ
ผมหยิกมีจีโนไทป์เป็น HH ผมหยักศก มีจีโนไทป์เป็น H\displaystyle H' ผมเหยียดตรงมีจีโนไทป์เป็น \displaystyle H' \displaystyle H'

  อัตราส่วนของลูกที่มีผมหยิก : ผมหยักศก : ผมเหยียดตรง เป็น 1:2:1 อัตราส่วนของฟีโนไทป์จะเท่ากับอัตราส่วนของจีโนไทป์ซึ่งมียีนที่ควบคุมลักษณะผมหยิกและยีนที่ควบคุมลักษณะผมเหยียดตรงเป็นแอลลีนกัน โดยที่ไม่มียีนใดเป็นยีนเด่นที่สมบูรณ์ จึงสรุปได้ว่าการถ่ายทอดลักษณะเส้นผมในคนเป็นลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น